วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

ยางพารา

                                                                          ประวัติยางพารา


ยางพาราเข้าสู่ประเทศไทย

           ต้นยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ชื่อว่า "สยาม" ประมาณกันว่าควรเป็นหลัง พ.ศ.2425 ซึ่งช่วงนั้น ได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพารา จากพันธุ์ 22 ต้น นำไปปลูกในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อ ปี พ.ศ.2442 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นผู้เหมือนหนึ่ง "บิดาแห่งยาง" เป็นผู้ที่ได้นำต้นยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก
          จากนั้น พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูกยางเพื่อมาสอนประชาชน นักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านทั้งสิ้น พร้อมกันนั้นท่านก็สั่งให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นำพันธุ์ยางไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยาง และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” ต่อมาราษฎรได้นำเข้ามาปลูกเป็นสวนยางมากขึ้นและได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปในจังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศมาเลเซีย จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งประเทศประมาณ 12 ล้านไร่ กระจายกันอยู่ในภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมยางของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมาจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยางได้มากที่สุดในโลก
          ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเดินทางไปดูงาน ในประเทศมลายู เห็นชาวมลายูปลูกยางกันมีผลดีมากก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยาง สมัยนั้น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนำพันธุ์ยางกลับมาได้ ในการเดินทางครั้งนั้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2444 พระสถล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมาได้ โดยเอากล้ายางมาหุ้มรากด้วยสำลีชุบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่งจึงบรรจุลงลังไม้ฉำฉา ใส่เรือกลไฟซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสถลฯ รีบเดินทางกลับประเทศไทยทันที
          ยางที่นำมาครั้งนี้มีจำนวน ถึง 4 ลัง ด้วยกันพระสถลสถานพิทักษ์ ได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพัก ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสถลสถานพิทักษ์ ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสถลสถานพิทักษ์ คือผู้เป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย

จากอดีตสู่ปัจจุบัน
           ในปี 2451 หลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) ได้นำยางไปปลูกที่จังหวัดจันทบุรี จึงได้มีการขยายการปลูกยางพาราในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการปลูกกันทั่วไป ใน 3 จังหวัด ภาคตะวันออก คือ จันทบุรี ระยอง และตราด และกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคตะวันออก ต่อมาก็มีผู้พยายามที่จะนำพันธุ์ยางไปปลูกทั้งในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ เป็นระยะๆ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเหมือนกับที่ปลูกของภาคใต้ และภาคตะวันออก
          ในช่วงปี 2475 หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่คอหงส์ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ได้ก่อตั้งสถานีทดลองกสิกรรมภาคใต้ ขึ้นที่ บ้านชะมวง ตำบลควนเนียง อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดสงขลา และในปี 2476 ได้ย้ายสถานีดังกล่าวไปตั้งที่ตำบล คอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ พร้อมกับตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมขึ้นที่ตำบลคอหงส์ด้วย โดยหลวงสุวรรณฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ต่อมาในปี 2496 หลวงสำรวจพฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง) หัวหน้ากองการยางและนายรัตน์ เพชรจันทร ผู้ช่วยหัวหน้า กองการยางได้เสนอร่าง พรบ. ปลูกแทนต่อรัฐบาล อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลาถึง 6 รัฐบาล ในเวลา 6 ปี จึงออก พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในปี 2503 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในปี 2504 กิจการปลูกแทนก้าวหน้าด้วยดี เป็นที่พอใจของชาวสวนยางในภาคใต้ หลวงสำรวจพฤกษาลัย (สมบูรณ์ ณ ถลาง) นายรัตน์ เพชรจันทร ผู้ริเริ่มการปลูกแทน ผู้ริเริ่มการปลูกแทนยางพาราที่ปลูกในสมัยแรกส่วนใหญ่เป็นยางพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่ำ ทำให้ชาวสวนยาง มีรายได้น้อยโดยเฉพาะในช่วงที่ยางมีราคาตกต่ำ วิธีการแก้ไขคือ การปลูกแทน  ยางพื้นเมืองเหล่านั้นด้วยยางพันธุ์ดีที่ให้ผลผลิตสูง ผู้ผลิตยางหลายประเทศได้เร่งการปลูกแทนยางเก่าด้วยยางพันธุดีเพื่อเพิ่มผลผลิตยาง เช่น มาเลเซียได้ออกกฎหมายสงเคราะห์ปลูกยางในปี 2495 และศรีลังกาได้ออกกฎหมายทำนองเดียวกันในปี 2496 ต่อมาได้รับความร่วมมือจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติให้จัดตั้งศูนย์วิจัยการยางขึ้นที่ตำบลคอหงส์ในปี 2508
          ในปี 2508 ดร.เสริมลาภ วสุวัต ผู้วางรากฐานการวิจัยและพัฒนายางการวิจัยและพัฒนายางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมยางไทย โดยเปลี่ยน สถานะจากสถานีทดลองยางคอหงส์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการวิจัย และพัฒนายางของไทยคือ ดร.เสริมลาภ วสุวัต ผู้อำนวยการกองกองการยาง ซึ่งเป็นผู้ควบคุมและดูแลศูนย์วิจัยการยางที่ตั้งขึ้นใหม่ศูนย์วิจัยการยางได้รับความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และมีผู้เชี่ยวชาญยางพาราสาขาต่างๆ มาช่วยวางรากฐานการวิจัย และพัฒนาร่วมกับนักวิจัยของไทยในระยะเริ่มแรก มีการวิจัยยางด้านต่างๆ เช่น ด้านพันธุ์ยาง โรคและศัตรูยางด้านดินและปุ๋ย การดูแลรักษาสวนยางการกำจัดวัชพืช การปลูกพืชคลุม การปลูกพืชแซมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ชาวสวนยาง ด้านอุตสาหกรรมยางและเศรษฐกิจยางและมีการพัฒนายางโดยเน้นการพัฒนาสวนยางขนาดเล็ก เช่น การ กรีดยางหน้าสูง การใช้ยาเร่งน้ำยาง การส่งเสริมการแปลงเพาะและขยายพันธุ์ยางของภาคเอกชน การรวมกลุ่มขายยางและการปรับปรุงคุณภาพยางและการใช้ประโยชน์ไม้ยางพารา มีการออกวารสารยางพาราเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่ชาวสวนยางและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดหลักสูตรการฝึกอบรมและการจัดสัมมนายางเพื่อถ่าย 
ทอดความรู้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
          และจนกระทั่ง ในปี 2521 กรมวิชาการเกษตร และกรมประชาสงเคราะห์ได้เริ่มงานทดลองปลูกสร้างสวนยางพาราตามหลักวิชาการปลูกสร้างสวนยางแผนใหม่ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทดลองปลูกในจังหวัดหนองคาย บุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ผลผลิตยางในขณะนั้นเริ่มเปิดกรีดได้แล้วอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่แตกต่างจากผลผลิตในภาคใต้ และภาคตะวันออกนัก ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมีการวิจัยและพัฒนาการปลูกยางในเขตแห้งแล้ง และถือเป็นการเริ่มขยายเขตปลูกยางพาราสู่เขต ใหม่ของประเทศไทยอย่างจริงจัง
          นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับองค์กรยางระหว่างประเทศในการวิจัยและพัฒนายางอย่างกว้างขวางในระยะต่อมาศูนย์วิจัยการยางได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยยางสงขลาในปี 2527 และมีการก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้นใหม่อีก 3 ศูนย์ ที่สุราษฎร์ธานี ฉะเชิงเทรา หนองคาย และ นราธิวาสเพื่อขยายงานวิจัย และพัฒนายางให้ครอบคลุมพื้นที่ปลูกยางของประเทศ การวิจัยและพัฒนายางเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญทำให้การปลูกแทนในพื้นที่ปลูกยางเดิมและการปลูกใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบความสำเร็จมากขึ้น

พันธุ์ยางพารา
               พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251
รูปทรงฉัตรเป็นครึ่งวงกลม ฉัตรเปิด ระยะระหว่างฉัตรห่าง ใบสีเขียวเป็นมัน ป้อมปลายใบ ใบตัดตามขวางเว้าเป็นรูปท้องเรือ ขอบใบหยักเป็นลอนคลื่น ก้านใบยาวทำมุมตั้งฉากกับกิ่งกระโดง ฐานก้านใบชั้นเดียว ลักษณะพิเศษคือกิ่งกระโดงคดและขอบใบเป็นลอนคลื่น
               พันธุ์ RRIM 600
รูปทรงฉัตรเป็นรูปกรวยขนาดเล็ก ฉัตรเปิด ใบสีเขียวอมเหลือง แผ่นใบเรียบ นิ่มลื่น ผิวใบมัน ขอบใบเรียบ ป้อมปลายใบ ปลายใบมีติ่งแหลมคล้ายใบโพธิ์ ก้านใบทำมุมยกขึ้น และใบทั้ง 3 ใบ อยู่ในแนวเดียวกัน ลักษณะพิเศษคือ ฐานก้านใบเป็นร่อง ตาอยู่ในฐานก้านใบ ฐานใบสอบเรียว
               พันธุ์ BPM 24
รูปทรงฉัตรครึ่งวงกลม ฉัตรเปิด ใบสีเขียวไม่เป็นมัน ป้อมกลางใบ ฐานใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ ก้านใบทำมุมเกือบตั้งฉากกับกิ่งกระโดง ก้านใบย่อยยาวทำมุมกว้างอยู่ในแนวเดียวกัน ลักษณะพิเศษคือ ใบกลางใหญ่กว่าใบทั้งสองข้าง และ ใบกลางมักยาวกว่าก้านใบ
               พันธุ์ PB 235
รูปทรงฉัตรคล้ายรูปพีระมิด ฉัตรเปิด ใบสีเขียวไม่เป็นมัน ใบกลางป้อมกลางใบคล้ายรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบรูปลิ่ม มีเส้นกลางใบสีเหลืองชัดเจน ก้านใบตั้งฉากกับกิ่งกระโดง ลักษณะพิเศษคือ บางฉัตรมักพบใบย่อย 4 ใบ เส้นกลางใบสีเหลืองชัดเจน ฉัตรที่ใบเพสลาดจะพบฐานก้านใบสีม่วง
แน้วโน้มตลาดยางพารา
สถานการณ์และแนวโน้มยางพาราไทยในตลาดโลก
(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
        โดย..ธีรวุฒิ อ่อนดำ ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
        
สถานการณ์และแนวโน้มยางพาราไทยในตลาดโลก
ราคาท้องถิ่น (ยางแผ่นดิบ) ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่
       
       *** สถานการณ์ผลิต ความต้องการใช้ และสต๊อกของไทย
     
       จากข้อมูลสถิติของสถาบันวิจัยยาง ประกอบกับการประมาณการเปรียบเทียบข้อมูลไตรมาส 3/2014 พบว่า สถานการณ์ผลิต การส่งออก และสต๊อกยางธรรมชาติของไทย มีจำนวน 831, 767 และ 1,396 พันตัน เพิ่มขึ้น 27.7%, 16.9% และ 10.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศมีจำนวน 136 พันตัน (คิดเป็น 16.5% ของปริมาณผลผลิตทั้งหมดในประเทศ) ลดลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด โดยมีประเทศส่งออกที่สำคัญคือ จีน รองลงมาคือ มาเลเซีย และญี่ปุ่น จำนวน 356 94 และ 47 พันตัน คิดเป็นสัดส่วน 50.7%, 13.4% และ 6.8% เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกทั้งหมด
     
       ***สถานการณ์ราคาภายในประเทศ
     
       จากข้อมูลสถิติ ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ พบว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคายางพาราปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาเฉลี่ยรายเดือน ยางแผ่นดิบชั้น 3 และน้ำยางสด ณ โรงงาน (ราคาท้องถิ่น) อยู่ที่ 46.7 และ 46.2 บาท/กก. และยางแผ่นรมควันชั้น 3 (ราคาประมูล) อยู่ที่ 51.0 บาท/กก. ลดลง 32.4%, 23.9% และ 26.8% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยช่วงเดือนมกราคม ต้นปีที่ผ่านมา และลดลง 74.3%, 72.5% และ 73.1% เมื่อเทียบกับราคาสูงสุด ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2554
     
       ***แนวโน้มผลผลิต ความต้องการใช้โดยรวมของโลก
     
       สำหรับแนวโน้มผลผลิตยางธรรมชาติโดยรวมของโลกไตรมาสที่ 4/2014 ประกอบกับการประมาณการโดยใช้ข้อมูลสถิติที่ผ่านมา คาดว่าปริมาณผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ไม่เพียงอินโดนีเซีย มาเลเซีย และหลายประเทศในทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ เช่น ไนจีเรีย ไลบีเรีย แคมเมอรูน บราซิล และกัวเตมาลา ต่างหันมาปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ขณะที่บทบาทของกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) เริ่มมีมากขึ้น อันเป็นผลจากนโยบายของจีนที่ส่งเสริมให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งใน และต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคงต่อการจัดหายางพาราให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ
     
       ด้านแนวโน้มความต้องการใช้ยางธรรมชาติ ไตรมาสที่ 4 ปี 2014 คาดว่าปริมาณความต้องการใช้โดยรวมของโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง จากสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง และความกังวลในเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่สะท้อนผ่านการปรับลด GDP โลก ปี 2014 ลงเหลือ 3.3% จากเดิม 3.4% และปรับลด GDP ปี 2015 ลงเหลือ 3.8% จากเดิม 4.0% ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับลด GDP ของ EU ลงเหลือ 0.8% จากเดิม 1.2% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และอุปสงค์ที่หดตัว ส่วนธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของจีนลงเหลือ 7.4% ในปี 2557 และ 7.2% ในปี 2558
     
       แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของโลกเริ่มชะลอตัวลง แต่เศรษฐกิจอเมริกาเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนผ่านการปรับลดวงเงิน QE ต่อเดือนลง และน่าจะสิ้นสุดโครงการในการประชุมเดือนตุลาคมนี้ ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP ของอเมริกา ปี 2014 เป็น 2.2% จากเดิม 1.6% เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อเมริกาถือเป็นประเภทผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ยางพาราขั้นสุดท้ายที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะยางล้อ และผลิตภัณฑ์ยาง (ถุงมือยาง) ผ่านการนำเข้าสินค้าจากจีน ดังนั้น แม้ว่าเศรษฐกิจจีนเริ่มแผ่วลง แต่ภาพรวมความต้องการยางพาราจากจีนเชื่อว่าไม่ได้รับผลกระทบทั้งหมด
     
       ***แนวโน้มผลผลิต ความต้องการใช้โดยรวมของไทย
     
       สำหรับแนวโน้มผลผลิตของไทย แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา หลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ (คิดเป็นร้อยละ 62 เทียบกับพื้นที่กรีดยางพาราทั้งหมดของประเทศ) เผชิญกับช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงส่งผลต่อการกรีดยางพาราในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ช่วงไตรมาส 4 พื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะฝั่งตะวันออก (คิดเป็นร้อยละ 72.8 เทียบกับพื้นที่กรีดยางพาราทั้งหมดในภาคใต้) เข้าสู่ช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคาดว่าผลกระทบหนักสุดจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งจะส่งผลทำให้ในหลายพื้นที่ไม่สามารถกรีดยางพาราได้ ดังนั้น ในภาพรวมปริมาณผลผลิตทั้งหมดของไทยยังถูกจำกัดด้วยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในฝั่งจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก
     
       ขณะที่แนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราในประเทศ ในระยะสั้นอาจได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลผ่านการสนับสนุนสินเชื่อให้แก่องค์กรสถาบันเกษตรกร ตลอดจนภาคเอกชนในการแปรรูปยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ในระยะยาวผลผลิตที่ได้อาจถูกจำกัดเพียงในประเทศเท่านั้น หากไม่มีมาตรการอื่นตามมาที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพสินค้า และการจัดหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของไทย ปี 2014 เหลือ 1.5% จากเดิม 3% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในอาเซียน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบริโภค และการลงทุนในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ส่วนธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดประมาณการ GDP ไทย ปี 2014 เหลือ 1.2% เช่นกัน
     
       ***แนวโน้มการส่งออกของไทย และราคาในประเทศ
     
       สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยไตรมาสที่ 4/2014 คาดว่าปริมาณการส่งออกของไทยขยายตัวในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด ขณะที่บทบาทของไทย ในการเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก อาจลดความสำคัญลงจากการที่หลายประเทศหันไปปลูกยางพารา และเริ่มเก็บผลผลิตได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบันสัดส่วนผลผลิตของไทยลดลงเหลือเพียง 25.6% ของปริมาณผลผลิตโลก (จากเดิม ไตรมาส 4/2013 เท่ากับ 38.72%) นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลงย่อมส่งผลต่อปริมาณการส่งออกของไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินบาทที่ถือว่ายังอ่อนค่า เมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนการส่งออกของไทย
     
       สำหรับแนวโน้มราคายางในประเทศ คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบจำกัด โดยมีแนวโน้มขยับขึ้นในช่วงต้นไตรมาส ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จากปริมาณผลผลิตโดยรวมที่ลดลง ด้วยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในฝั่งจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก และอาจทำสถิติต่ำสุดใหม่ในรอบ 5 ปีกว่า ต่ำกว่าระดับ 43.2/40.0 บาท/กก. (ยางแผ่นดิบ @ราคาท้องถิ่น) ในครึ่งหลังไตรมาส 4 ช่วงเดือนธันวาคม จากปริมาณผลผลิตที่กลับมาออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยมีปัจจัยกดดัน และสนับสนุนที่สำคัญคือ
     
       *** ปัจจัยบวก
     
       การแพร่ระบาดของโรคไวรัสอีโบลาในแถบแอฟริกาตะวันตก และความกังวลว่าการแพร่ระบาดอาจจะลุกลามไปยังทวีปอื่น ส่งผลให้ดีมานด์ถุงมือยางในตลาดโลกเพิ่มขึ้น
     
       International Rubber Study Group (IRSG) ปรับลดคาดการณ์ปริมาณผลผลิตส่วนเกินของอุตสาหกรรมยางพารา ลงเหลือ 0.2 ล้านตัน จากเดิมที่คาดว่าว่าใน 2015 จะมีปริมาณผลผลิตส่วนเกินจากปี 2014 จำนวน 0.3 ล้านตัน
     
       ***ปัจจัยลบ
       บทบาทของไทย ในการเป็นผู้ผลิตหลักในตลาดโลก อาจลดความสำคัญลง
     
       ปริมาณผลผลิตยางธรรมชาติที่จะออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ในช่วงปลายมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนธันวาคม ส่งผลกดดันราคายางพาราโดยรวมภายในประเทศ
     
       ปริมาณสต๊อกยางสังเคราะห์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อราคายางสังเคราะห์ และกดดันราคายางพาราเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ปริมาณสต๊อกยางธรรมชาติของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าอาจแตะระดับ 3.2 ล้านตัน ในช่วงไตรมาส 4 ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันราคายางเพิ่มมากขึ้น
     
       กองทุนการเงินระหว่งประเทศ (IMF) ปรับลด GDP โลก ปี 2014 ลงเหลือ 3.3% จากเดิม 3.4% และปรับลด GDP ปี 2015 ลงเหลือ 3.8% จากเดิม 4.0%
     
       องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับลด GDP ของ EU ลงเหลือ 0.8% จากเดิม 1.2% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และอุปสงค์ที่หดตัว
     
       ธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของจีนลงเหลือ 7.4% ในปี 2557 และ 7.2% ในปี 2558 และปรับลดคาดการณ์ GDP ของไทย ปี 2014 ลงเหลือ 1.5% จากเดิม 3% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในอาเซียน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบริโภค และการลงทุนในประเทศที่ฟื้นตัวช้า
     
       ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ปรับลดประมาณการ GDP ไทย ปี 2014 เหลือ 1.2%
     
       แนวโน้มผลผลิตยางธรรมชาติโดยรวมของโลกไตรมาสที่ 4/2014 ประกอบกับการประมาณการโดยใช้ข้อมูลสถิติที่ผ่านมา คาดว่าปริมาณผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ขณะที่แนวโน้มความต้องการใช้ยางธรรมชาติ คาดว่ามีแนวโน้มชะลอตัวลงจากสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง และความกังวลในเรื่องตัวเลขเศรษฐกิจโลก ที่สะท้อนผ่านการปรับลด GDP โลก ปี 2014 ลงเหลือ 3.3% จากเดิม 3.4% และปรับลด GDP ปี 2015 ลงเหลือ 3.8% จากเดิม 4.0% ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขณะที่องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ปรับลด GDP ของ EU ลงเหลือ 0.8% จากเดิม 1.2% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และอุปสงค์ที่หดตัว ส่วนธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของจีนลงเหลือ 7.4% ในปี 2557 และ 7.2% ในปี 2558
     
       ส่วนแนวโน้มผลผลิตของไทย ในภาพรวมคาดว่าปริมาณผลผลิตทั้งหมดของไทยยังถูกจำกัดด้วยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในฝั่งจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขณะที่แนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราในประเทศ ในระยะสั้นอาจได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลผ่านการสนับสนุนสินเชื่อให้แก่องค์กร สถาบันเกษตรกร ตลอดจนภาคเอกชนในการแปรรูปยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ในระยะยาวผลผลิตที่ได้อาจถูกจำกัดเพียงในประเทศเท่านั้น หากไม่มีมาตรการอื่นตามมาที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการส่งเสริมมาตรฐานคุณภาพสินค้า และการจัดหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบัน ธนาคารโลก (World Bank) ได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ของไทย ปี 2014 เหลือ 1.5% จากเดิม 3% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในอาเซียน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการบริโภค และการลงทุนในประเทศที่ฟื้นตัวช้า ส่วนธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ปรับลดประมาณการ GDP ไทย ปี 2014 เหลือ 1.2% เช่นกัน
     
       สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยไตรมาสที่ 4/2014 คาดว่าปริมาณการส่งออกของไทยขยายตัวในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด ขณะที่บทบาทของไทยในการเป็นผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก อาจลดความสำคัญลงจากการที่หลายประเทศหันไปปลูกยางพารา และเริ่มเก็บผลผลิตได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลง ส่งผลกดดันต่อทิศทางการส่งออกของไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินบาทที่ถือว่ายังอ่อนค่า เมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยหนุนการส่งออกของไทย
     
       ส่วนแนวโน้มราคายางในประเทศ คาดว่าจะยังคงเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในกรอบจำกัด โดยมีแนวโน้มขยับขึ้นในช่วงต้นไตรมาส ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน จากปริมาณผลผลิตโดยรวมที่ลดลง ด้วยมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในฝั่งจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันออก และอาจทำสถิติต่ำสุดใหม่ในรอบ 5 ปีกว่า ต่ำกว่าระดับ 43.2/40.0 บาท/กก. (ยางแผ่นดิบ @ราคาท้องถิ่น) ในครึ่งหลังไตรมาส 4 ช่วงเดือนธันวาคม จากปริมาณผลผลิตที่กลับมาออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ และแนวโน้มผลผลิตโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณสต๊อกยางธรรมชาติของโลกที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าอาจแตะระดับ 3.2 ล้านตัน ในช่วงไตรมาส 4 ก็จะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันราคายางเพิ่มมากขึ้น
     
       ***สถานการณ์ผลิต ความต้องการใช้ และสต๊อกของโลก
     
       จากข้อมูลสถิติของ International Rubber Study Group (IRSG) ประกอบกับการประมาณการ เปรียบเทียบข้อมูลไตรมาส 3/2014 พบว่า ปริมาณผลผลิต ความต้องการใช้ และสต๊อกยางธรรมชาติของโลกมีจำนวน 3,242, 2,983 และ 2,985 พันตัน เพิ่มขึ้น 17.9%, 1.3% และ 9.5% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 0.9%, 2.5% และ 23.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า
     
       ขณะที่ปริมาณผลผลิต และสต๊อกยางสังเคราะห์ของโลกมีจำนวน 3,951 และ 4,224 พันตัน เพิ่มขึ้น 1.3% และ 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 2.8% และ 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยที่ปริมาณความต้องการใช้ยางสังเคราะห์ของโลกมีจำนวน 3,935 พันตัน ลดลง 0.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสล่าสุด และเพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า

                                                            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น